กังหันน้ำ “ชัยพัฒนา”
ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมของไทยได้เกิดขึ้นมานานอย่างต่อเนื่อง และ
จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะการเกิดน้ำเสียในบริเวณต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความ
เสื่อมโทรมของพสกนิกรในด้านสุขภาพและอนามัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
ตระหนักถึงปัญหานี้ และทรงคิดค้นหาวิธีแก้ไขตามแนวทางพึ่งตนเองตามปรัชญา
“เศรษฐกิจพอเพียง” ในช่วงปี ๒๕๒๗ – ๒๕๓๐ ได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้
“น้ำดี” มาไล่ “น้ำเสีย” และใช้วิธีธรรมชาติช่วยคือผักตบชวาและพืชน้ำต่าง ๆ หรือ
ใช้ “อธรรม” ปราบ “อธรรม” สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียได้ในระดับหนึ่งดังที่ทรง
ทดลองใช้ที่บึงมักกะสัน กรุงเทพมหานคร
ต่อมาทรงสังเกตว่าวิธีธรรมชาติอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เมื่อวันที่
๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ มีพระราชกระแสว่า จำเป็นต้องประดิษฐ์อุปกรณ์
บำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาช่วยแก้ปัญหา ได้พระราชทานพระราชดำริ
ให้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานทดลองสร้างเครื่องกลเติมอากาศเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียถึง
๙ แบบ ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะและพระอัจฉริยภาพ ประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา"
ซึ่งเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยขึ้น โดยทรงพัฒนาแนวพระราช
ดำริมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ “หลุก” ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาโดยทั่วไปจนเป็น
ผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพในการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนลงสู่น้ำได้ ๑.๒๐ กิโลกรัม/แรงม้า/
ชั่วโมง และทรงยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรตามมาตรฐานสากลองการประดิษฐ์คิดค้นต่อ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งได้ดำเนินการตรวจค้นสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิว
น้ำทั่วโลก พบว่า เครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศลำดับที่
๙ ของโลกที่ไม่ซ้ำแบบใคร จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรแด่พระองค์ เมื่อวันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๖ นับเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการรับจดทะเบียนสิทธิบัตร
และถวายแด่พระมาหากษัตริย์ จึงทรงเป็นระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียว
ของโลกที่ทรงเป็น “นักประดิษฐ์” โดยสมบูรณ์ |